นครหลวงเวียงจันทน์

นครหลวงเวียงจันทน์ หรือ นะคอนหลวงเวียงจัน เดิมชื่อ กำแพงนครเวียงจันทน์ เป็นเขตปกครองที่ตั้งอยู่บริเวณภาคกลาง ครอบคลุมพื้นที่เมืองหลวงของประเทศลาว เดิมเคยเป็นส่วนหนึ่งของแขวงเวียงจันทน์

นครหลวงเวียงจันทน์เป็นเขตการปกครองที่มีการพัฒนามากในบรรดา 17 แขวงของประเทศลาว โดยตั้งอยู่ชิดกับบริเวณโค้งลำน้ำแม่น้ำโขง ติดชายแดนของประเทศไทย โดยมีสะพานมิตรภาพไทยลาว 1 เชื่อมการเดินทางระหว่างประเทศ มีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด 3,920 ตารางกิโลเมตร (1,510 ตารางไมล์) ตัวเมืองเวียงจันทน์ถูกสร้างขึ้นในศตวรรษที่ 16 ในรัชสมัยของสมเด็จพระไชยเชษฐาธิราช บริเวณเขตเมืองเก่าเป็นที่ตั้งของวัดวาอาราม พิพิธภัณฑ์ อนุสาวรีย์ และสวนสาธารณะพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชทรงสถาปนาเวียงจันทน์ขึ้นเป็นราชธานีของอาณาจักรล้านช้าง เมื่อ พ.ศ. 2103 ครั้นเมื่อล้านช้างเสื่อมอำนาจลง ใน พ.ศ. 2250 เวียงจันทน์กลายเป็นอาณาจักรอิสระ เรียกว่าอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์จนกระทั่ง พ.ศ. 2321 เวียงจันทน์มีชื่อที่ตั้งในรัชสมัยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ว่า กรุงศรีสัตนาคคนหุต วิสุทธิ์รัตนราชธานีบุรีรมย์เมืองเวียงจันทน์ หรือนครหลวงเวียงจันทน์

แขวงจำปาสัก

ปรากฏชื่อในพงศาวดารเขมรว่า สะมะพูปุระ เมื่ออาณาจักรฟูนันเสื่มอำนาจ คนลาวได้ย้ายถิ่นเข้ามาสร้างบ้านเรือนกลายเป็นเมืองใหม่นามว่า จำปานะคะบุลีสี หรือ จำปานคร

ถึงรัชสมัยพระเจ้าฟ้างุ้มได้ทรงรวบรวมเมืองต่างๆของลาวเข้ามาเป็นอาณาจักรเดียวกันชื่อว่าล้านช้าง เป็นอาณาจักรที่รุ่งเรืองในทุกด้าน มีเมืองหลวงอยู่ที่หลวงพระบาง แต่เมื่อพระเจ้าฟ้างุ้มสิ้นพระชนม์ อาณาจักรล้านช้างเริ่มตกต่ำลงเพราะสงครามแย่งชิงอำนาจและการก่อกบฏต่างๆนานนับร้อยปี จนถึง พ.ศ. 2063 พระเจ้าโพธิสารราชเจ้าขึ้นครองราชย์และรวบรวมแผ่นดินขึ้นใหม่ และได้ย้ายเมืองหลวงของอาณาจักรล้านช้าง มาอยู่ที่เวียงจันทน์เพื่อให้ไกลจากการรุกรานของสยาม อาณาจักรล้านช้างเจริญมาได้ 200 ปีเศษก็เริ่มอ่อนแอ แตกออกเป็น 3 ฝ่าย คือ อาณาจักรหลวงพระบาง อาณาจักรเวียงจันทน์ และอาณาจักรจำปาสัก ซึ่งตรงกับสมัยกรุงธนบุรี สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชระแวงว่าลาวจะร่วมมือกับพม่ายกทัพมาตีไทย จึงโปรดให้เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก (รัชกาลที่ 1) ยกทัพไปตีลาวทั้ง 3 อาณาจักร ตกเป็นของไทยนาน 114 ปีจนถึงปี พ.ศ. 2436 ไทยต้องยกลาวให้กับฝรั่งเศส แต่ในช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่ 2 ฝรั่งเศสเริ่มอ่อนแอ ญี่ปุ่นได้เข้ามาปกครองแทน แต่ภายหลังสิ้นสงครามโลกญี่ปุ่นเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ ฝรั่งเศสได้กลับมาปกครองลาวอีกครั้งหนึ่ง จนถึงปี พ.ศ. 2497 ฝรั่งเศสแพ้สงครามโลกที่เดียนเบียนฟู ลาวได้รับเอกราชอย่างสมบูรณ์ แต่กลับถูกสหรัฐอเมริกาเข้าแทรกแซงทางการเมืองและการทหาร กลุ่มลาวรักชาติจึงได้ร่วมกันต่อสู้จนสหรัฐอเมริกาล่าถอย ลาวได้เปลี่ยนการปกครองเป็นระบอบคอมมิวนิสต์ ยกเลิกสถาบันเจ้าชีวิตหรือสถาบันกษัตริย์ โดยเจ้าชีวิตองค์สุดท้ายแห่งราชอาณาจักรจำปาสักคือเจ้าบุญอุ้ม

แขวงหลวงพระบาง

หลวงพระบาง (Luangprabang) มีชื่อเป็นทางการว่า นครหลวงพระบาง แต่ประชาชนทั่วไปเรียกว่า เมืองหลวง เพราะเป็นอดีตราชธานีเก่าของอาณาจักรล้านช้างและที่ประทับของเจ้าชีวิต (พระเจ้าแผ่นดิน) ก่อนที่ลาวจะเปลี่ยนระบอบการปกครองมาเป็นสาธารณรัฐ ตัวเมืองหลวงพระบางตั้งอยู่ระหว่างแม่น้ำคานและแม่น้ำโขง เต็มไปด้วยวัดวาอาราม อาคารบ้านเรือนเก่าแก่ที่ยังคงรักษารูปแบบสถาปัตยกรรมแบบล้านช้างผสมยุโรป ผู้คนมีวิถีชีวิตเรียบง่าย ยึดมั่นในขนบธรรมเนียมประเพณีและพุทธศาสนาเป็นเหตุให้บ้านเมืองสงบ ร่มเย็นและงดงาม จนได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นเมืองมรดกโลกเมื่อ พ.ศ.2540

สมัยโบราณดินแดนนี้เป็นถิ่นฐานของชาวข่าเชื้อสายเขมร ขุนลอแห่งเมืองแถง (เดียนเบียนฟู) ทรงเห็นว่ามีชัยภูมิที่จะตั้งเป็นเมือง จึงขับไล่ชาวข่าออกไปและตั้งเมืองเซ่าขึ้นต่อมาพบแหล่งแร่ทองคำในเมือง จึงเปลี่ยนชื่อเป็นเชียงดง-เชียงทอง ถึงสมัยพระเจ้าฟ้างุ้มทรงรวบรวมแผ่นดินตั้งเป็นอาณาจักรล้านช้าง ได้สถาปนาเชียงดง-เชียงทองเป็นเมืองหลวง ให้ชื่อว่าเมืองศรีสัตนาคนุตมะราชธานีเมื่อ พ.ศ.1896 ในรัชสมัยของพระองค์ พระเจ้าแผ่นดินเขมรพระราชทานพระบางให้คณะธรรมทูตอันเชิญมายังล้านช้าง แรกประดิษฐานอยู่ที่เมืองเวียงคำเหนือเมืองเวียงจันทน์ ครั้นพระเจ้าวิชุนนะลาด (วิชุลราช) เสด็จขึ้นครองราชย์ ได้อัญเชิญมายงเมืองเชียงดง-เชียงทอง และเปลี่ยนชื่อเมืองเป็นหลวงพระบาง แปลว่า เมืองที่ประดิษฐานของพระบาง นับแต่นั้นมา

แขวงอัตตะปือ

อัตตะปือเป็นแขวงที่อยู่ใต้สุดติดชายแดนกัมพูชาและเวียดนาม ห่างจากเมืองหลวง นครเวียงจันทน์ 970 กิโลเมตร ภายในประเทศติดต่อกับแขวงเซกอง และจำปาศักดิ์ ไม่มีพรมแดนติดไทย แต่จุดที่ใกล้ที่สุดและเดินทางไปได้คือจากด่านช่องเม็ก จ.อุบลราชธานี

อัตตะปือมีพื้นที่ 1,032 ตารางกิโลเมตร แบ่งออกเป็น 5 เมือง (อำเภอ) คือเมืองไชยเชษฐา สามัคคีชัย สนามชัย สานไชย ภูวง ภูมิประเทศปกคลุมด้วยป่าทึบและเขาสูง มีแม่น้ำ 7 สาย คือ เซกอง เซกะ หมาน เซเปียน เซคำพอ เซซุ และน้ำกง

อัตตะปืออาจไม่เจริญเหมือนแขวงอื่นทั่วไป แต่กำลังเติบโตเป็นพื้นที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวที่ชอบธรรมชาติ ป่า น้ำตก และวัด เป็นเมืองที่อยู่ในวงล้อมของขุนเขามีแม่น้ำไหลผ่าน เงียบสงบ และมีทองคำมาก คำขวัญของแขวงคือ ผืนแผ่นดินคำ ลำน้ำใส ป่าไม้เขียว ท่องเที่ยวหนองฟ้า ชมผ้าเรียงชานไช ไหว้พระองค์ใหญ่แสน พักแดนสามัคคี

แขวงเซกอง

เซกอง เป็นหนึ่งในแขวงของประเทศลาว ตั้งอยู่ทางภาคใต้ของประเทศลาว​ที่ตั้งภูมิสัณฐานเป็น และ ที่ราบเป็นส่วนใหญ่ ประชากรส่วนใหญ่ของแขวงนี้เป็นชนเผ่าลาวเทิง ลาวลุ่มและเผ่าอื่นๆมากมาย ประกอบมี 04 เมือง​ ทางทิศเหนือ​ ติดกับ แขวงสาละวัน​ ทิศตะวันตกติดกับ แขวงจำปา​ศักดิ์ และ ทิศ​ใต้ต่อกับ แขวงอัตตะปือ ทิศตะวันออก​ ติดกับเวียดนาม

แขวงเซกองแยกออกมาจากแขวงสาละวันและแขวงจำปาศักดิ์ในปี พ.ศ. 2526 ชื่อของแขวงตั้งตามชื่อแม่น้ำกอง (เซกอง) ที่ไหลผ่านพื้นที่เนื้อที่ส่วนใหญ่เป็นที่สูงและภูเขา จึงอุดมสมบูรณ์ด้านธรรมชาติ ป่าไม้ แร่ธาตุ แม่น้ำลำธาร ที่เหมาะแก่การสร้างเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำ

มีชายแดนติดต่อกับเวียดนามที่จังหวัดกวางนัม และมีเส้นทางออกสู่ทะเลที่ดานังและบิงดิง

แขวงสาละวัน

สาละวัน เป็นหนึ่งในแขวงของประเทศลาว ตั้งอยู่บริเวณที่ราบสูงทางตอนใต้ของประเทศ เป็นแขวงหนึ่ง​ที่มีวัฒนธรรม​หลากหลาย ชื่อของแขวงสาละวันมาจากบริเวณที่ตั้งเมืองสาละวันมีต้นฮังหรือต้นรังเป็นจำนวนมาก ต้นรังในภาษาบาลีเรียกว่า สาละ ส่วนคำว่า วัน แปลว่าป่าไม้ ดังนั้นคำว่า สาละวัน จึงหมายความว่า "ดินแดนแห่งป่าไม้รัง"

อาณาเขตติดต่อ

ทิศเหนือ​ ติดต่อกับ​แขวงสุวรรณเขต

ทิศตะวันออก​ ติดต่อกับประเทศ​เวียดนาม

ทิศใต้​ ติดต่อกับแขวงเซกอง​​และแขวงจำปาศักดิ์

ทิศตะวันตก​ ติดต่อกับ​ประเทศ​ไทย

แขวงสะหวันนะเขต

ก่อนสมัยขอมเรืองอำนาจดินแดนแถบนี้ตกอยู่ภายใต้การปกครองของนครรัฐศรีโคตรบูร (สีโคดตะบูนหรือสีโคดตะบอง) นครรัฐสำคัญในพุทธตำนานท้องถิ่น ต่อมาในสมัยขอมเรืองอำนาจได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของสุวรรณภูมิประเทศหรือสุวัณณภูมิรัฐที่อุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรธรรมชาติและเป็นดินแดนเผยแผ่พระพุทธศาสนาร่วมกับเวียงจันทน์

พ.ศ. 2120 รัชกาลพระยาศรีวรวงษาธิราชหรือพระมหาอุปราชศรีวรวงษา (พ.ศ. 2118-23) หม่อมบ่าวหลวง (เจ้าคำโพน) กวานดงเขนยเมืองน้ำน้อยอ้อยหนูและนางสิมมาภริยา ได้อพยพไพร่พลจากน้ำน้อยอ้อยหนูทางภาคเหนือของล้านช้างลงมาตั้งหมู่บ้านชื่อว่าบ้านหลวงโพนสิมแล้วยกขึ้นเป็นเมืองชื่อเมืองหลวงมหาสุวัณณภูมคำโพนสิมมาเขตต์ (เมืองโพนสิมเก่า) โดยถือเอาแร่ทองคำและภูมิประเทศซึ่งเป็นเนินดินสูงมาเป็นนิมิตเมือง ปัจจุบันห่างจากตัวเมืองสุวรรณเขตราว 18 กิโลเมตรในเส้นทางไปพระธาตุอิงฮัง วัดพระธาตุอิงฮัง บ้านธาตุอิงฮัง นครไกสอนพมวิหาน ครั้นถึง พ.ศ. 2185 ท้าวแก้วสิมพลีบุตรชายคนรองอพยพไพร่พลหลายสิบครัวแยกออกไปตั้งบ้านเมืองใหม่ในริมฝั่งแม่น้ำโขงชื่อว่าบ้านท่าแฮ่ (ท่าแหหรือท่าแห่) แล้วสร้างวัดขึ้นโดยใช้หินแฮ่ที่มีอยู่มากในบริเวณริมโขงมาเป็นวัสดุก่อสร้าง

แขวงไชยะบุรี

ภูมิประเทศทั่วไปของแขวงไซยะบูลิเป็นป่าบนภูเขาและที่ราบสูง ทางตะวันตกมีต้นไม้ขึ้นหนาทึบเป็นที่ตั้งป่าสงวนแห่งชาติน้ำพูน ทางตะวันออกจรดแม่น้ำโขง มีภูเขาที่มองไกลๆ เหมือนช้างกำลังเดินจึงได้ชื่อว่าผาช้างทางตอนใต้เป็นพื้นที่ห่างไกลริมชายแดน มีน้ำตกหลายแห่ง เช่น นาข่า บ้านคำ ตาดเหือง ฯลฯ แต่ยังไม่มีถนนเข้าถึง

น้ำตกที่มีถนนเข้าถึงสะดวกสบาย อยู่ใกล้ตัวเมืองและเป็นที่นิยมของชาวบ้านคือ ตาดแจว สูง 30 เมตร อยู่ห่างจากท่าเดื่อประมาณ 1 กิโลเมตร ไซยะบูลิมีเขตแดนติดกับไทยยาว 645 กิโลเมตร ชาวพื้นเมือง อาทิ ไทดำ ไทลื้อ ขมุ ขฉิ่น กรี อาข่าและมลาบรี จึงอพยพข้ามไปมาระหว่างสองประเทศ เป็นแขวงที่มีการทำไม้ซุงมากจึ้งมีช้างงานมากที่สุดในประเทศ

แขวงอุดมไช

แขวงนี้แยกออกมาจากแขวงหลวงพระบางเมื่อ พ.ศ. 2506 เมื่อแรกตั้งแขวงนี้มีชื่อว่า "แขวงล้านช้าง" จากนั้นในปี พ.ศ. 2508 เปลี่ยนชื่อเป็น "แขวงเมืองไซ" และในปี พ.ศ. 2512 จึงเปลี่ยนชื่อเป็น "แขวงอุดมไซ" มาจนถึงปัจจุบัน ต่อมาในปี พ.ศ. 2534 จึงได้โอนเมืองปากทาและเมืองผาอุดมไปขึ้นกับแขวงบ่อแก้ว

แขวงอุดมไซนั้นตั้งอยู่ในวงล้อมของแขวงพงสาลี หลวงพระบาง ไชยบุรี และหลวงน้ำทา ในสมัยสงครามกู้ชาติและเปลี่ยนแปลงการปกครอง ทางหลวงหมายเลข 1 ตัดกับทางหลวงหมายเลข 4 เคยเป็นศูนย์กลางที่จีนใช้ส่งความช่วยเหลือผ่านไปยังขบวนการปะเทดลาวในช่วงปี พ.ศ. 2513 แต่ในปัจจุบัน อาคารกงสุลเก่าของจีนได้เปลี่ยนแปลงเป็นโรงแรมไปแล้ว รัฐบาลลาวตอบแทนจีนที่ยอมเสียค่าใช้จ่ายในการสร้างถนนด้วยการให้สัมปทานไม้ในเขตหุบเขาแขวงอุดมไซ ส่งผลให้ป่าไม้บริเวณนี้ถูกทำลายลง ปัจจุบันจีนยังมีอิทธิพลทางการค้า มีตลาดใหญ่ ๆ ขายของมากมาย

แขวงเชียงขวาง

เชียงขวาง ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ ห่างจากนครหลวงเวียงจันทน์ประมาณ 400 กิโลเมตร เชียงขวางมีพรมแดนติดประเทศเวียดนาม มีเมืองโพนสะวันเป็นเมืองเอก แต่เดิมเป็นเมืองคูน ถิ่นที่อยู่ของชาวไทพวน (ลาวพวน) แต่ในช่วงสงครามอินโดจีน หรือ สงครามเวียดนาม เมืองคูนถูกทหารอเมริกันนำระเบิดมาทิ้งอย่างหนัก ผู้คนล้มตายมากมาย บ้านเรือนเสียหายยับเยิน จนหลังสงครามทางการลาวต้องย้ายหน่วยราชการมาตั้งเมืองเอกแห่งใหม่ที่ เมืองโพนสะหวัน ที่อยู่ห่างเมืองคูนราว 30 กม.

เมืองเชียงขวางมีหลายฉายาด้วยกัน ฉายาหลักๆ มาจากการเคยเป็นสมรภูมิการสู้รบในสงครามเวียดนาม ทำให้เมืองนี้ได้รับการเรียกขานว่าเป็น ดินแดนแห่งการปลดแอก (จากอเมริกา), ดินแดนแห่งวีรชน, ดินแดนแห่งการปฏิวัติ แต่ฉายาอันโดดเด่นของเชียงขวางนั่นก็คือ ดินแดนแห่งสาวงาม เพราะสาวลาวพวนที่นี่ทั้งสวย ทั้งแกร่ง อีกฉายาหนึ่งคือ ดินแดนแห่งความหนาว ที่พอเดินทางเข้าเขตเชียงขวาง เราจะสัมผัสได้ถึงไอแห่งความหนาวเย็นทันที เพราะเมืองนี้ตั้งอยู่บนระดับความสูงจากระดับน้ำทะเล เฉลี่ยเกิน 1,000เมตร สภาพภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน

แขวงบ่อแก้ว

แขวงบ่อแก้ว ได้แยกมาจากแขวงหัวของ เมื่อปี พ.ศ. 2526 แขวงหัวของได้ถูกยุบลงและแบ่งเป็น 2 แขวง คือแขวงหลวงน้ำทา และแขวงบ่อแก้ว โดยทางการได้กำหนดให้เมืองห้วยทราย (ซึ่งเป็นเมืองเอกของแขวงหัวของเดิม) เป็นเมืองเอกของแขวงบ่อแก้ว ต่อมาในปี พ.ศ. 2534 ได้มีการโอนเมืองปากทา และเมืองผาอุดมจากแขวงอุดมไซมาขึ้นกับแขวงบ่อแก้ว ด้วยชื่อแขวงบ่อแก้วมาจากการค้นพบแร่ไพลินซึ่งมีสีสันสวยงามบริเวณริมฝั่งแม่น้ำโขง ชาวบ้านได้ไปร่อนหาแร่ไพลินตามริมแม่น้ำ ซึ่งภาษาท้องถิ่นเรียกว่าแก้ว จึงเป็นที่มาของชื่อแขวง

แขวงบ่อแก้ว เป็นแขวงที่เล็กที่สุดของลาว เมืองห้วยทรายเป็นเมืองหลวงเมืองท่าการค้าที่สุดรินแม่โขงในอดีตนั้น ชาวเงี้ยวกลุ่มหนึ่งจากเมืองหมอกใหม่ได้มาค้นหาแหล่งหินมีค่าตามสองฝั่งแม่น้ำโขงจากปากน้ำเกิ่ง จนถึงห้วยซายใหญ่ ห้วยซายน้อย และปากห้วยห่าย (ห้วยผาคำ) เมื่อพบแล้วได้กลับไปรายงานเจ้าฟ้าขุนจิ่งที่เมืองหมอกใหม่ ในเวลาต่อมา เจ้าฟ้าขุนจิ่งจึงย้ายผู้คน 46 ครอบครัวมาตั้งถิ่นฐานที่เมืองห้วยซาย เพื่อขุดค้นหินมีค่าและขายเป็นสินค้า บริเวณดังกล่าวจึงเรียกว่าบ่อแก้ว

ทัวร์ลาวใต้,แลนด์ลาวใต้,ทัวร์ลาว,แลนด์ลาว,ทัวร์ปากเซ,แลนด์ปากเซ,ทัวร์หลวงพระบาง,แลนด์หลวงพระบาง,ทัวร์กัมพูชา,ทัวร์เวียดนาม www.landlaostai.com

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy